Sompo

Innovation for Wellbeing

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

Home» เกี่ยวกับเรา» ภาพรวมของบริษัท» นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายนี้กำหนดกรอบนโยบายและนโยบายการดำเนินงานที่เป็นรากฐานสำคัญในการกำกับดูแลกิจการของ บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ต่อไปนี้เรียกว่า "บริษัท ฯ " และ / หรือ "บริษัท ฯ ")

1. นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

2. นโยบายบริหารความเสี่ยง

3. นโยบายการแต่งตั้งกรรมการบริษัท

4. นโยบายในการให้ผลตอบแทนแก่พนักงาน

5.นโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

  1. มุมมองพื้นฐานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ

    บริษัทให้ความสำคัญต่อลูกค้าในการพิจารณากำหนดทิศทางนโยบายของธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์และความปลอดภัยของลูกค้า รวมทั้งให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีของลูกค้าและสังคมโดยรวม โดยดำเนินการจัดสรรการบริการด้านประกันภัยและบริการที่เกี่ยวข้องอย่างมีคุณภาพสูงสุด

    นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมในการกำกับดูแลกิจการที่ดีและปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการของบริษัทจึงได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการอันเป็นนโยบายพื้นฐานเพื่อกำหนดกรอบวิสัยทัศน์ขององค์กร และมุ่งมั่นพัฒนาไปสู่การสร้างระบบการกำกับดูแลกิจการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

  2. กรรมการและคณะกรรมการบริษัท

    บทบาทของกรรมการและคณะกรรมการ
    คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดไว้ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญในการบริหารจัดการและดูแลองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับและดูแลการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัททุก 3 เดือน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

    จำนวนกรรมการบริษัทองค์ประกอบและวาระการดำรงตำแหน่ง
    จำนวนของกรรมการบริษัทต้องมีไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการบริษัทไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามที่กำหนดในข้อบังคับของบริษัท นอกจากนี้บริษัทจะต้องคงอัตรากรรมการที่มีสัญชาติไทยตามที่มีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย

    กรรมการอิสระคือผู้ที่มีประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลายสามารถประยุกต์ใช้มุมมองจากภายนอกกับประเด็นต่างๆรวมถึงประเด็นทางกฎหมาย ความต้องการของผู้บริโภคและการพัฒนาธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้ กรรมการบริษัทจำนวน 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมดจะลาออกจากตำแหน่งในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อธุรกิจ

  3. คณะกรรมการตรวจสอบ

    บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบ
    คณะกรรมการตรวจสอบได้ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลกิจการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของบริษัท และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและจริยธรรมธุรกิจ

    จำนวนกรรมการตรวจสอบองค์ประกอบและวาระการดำรงตำแหน่ง
    กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 2 ท่าน ต้องเป็นกรรมการอิสระซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน ต้องมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับบัญชีหรือการเงินซึ่งสามารถตรวจสอบงบการเงินของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรรมการตรวจสอบแต่ละท่านมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 4 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบ

  4. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินธุรกิจของบริษัทและธุรกิจในกลุ่มให้เป็นไปอย่างคล่องตัวภายใต้สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป

    รองประธานกรรมการบริหาร
    มีหน้าที่ดูแลการดำเนินธุรกิจในแต่ละแผนกให้มีความคล่องตัวในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่องแก่บริษัท และธุรกิจในกลุ่มโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ

  5. การแก้ไขและการยกเลิก

    นโยบายการกำกับดูแลกิจการนี้จะได้รับการแก้ไขและยกเลิกโดยมติของคณะกรรมการ บริษัท อย่างไรก็ตามการแก้ไข และ/หรือเพิ่มเติมบางส่วนสามารถทำได้โดย คณะกรรมการบริหาร

  6. แผนก / ฝ่ายที่รับผิดชอบ

    ฝ่ายกฎหมายและกำกับดูแลการปฏิบัติงานเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบายบริหารความเสี่ยง

          บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมเพื่อใช้เป็นกรอบการบริหารความเสี่ยงและเพื่อเป็นกระบวนการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท (ORSA) ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผน ระบุ ประเมิน จัดการ ติดตาม ควบคุม และตอบสนองต่อความเสี่ยงของบริษัทให้ทันต่อเหตุการณ์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
          คณะกรรมการบริษัทจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (RMC) กำหนดกรอบและนโยบายการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมที่ครอบคลุมความเสี่ยงสำคัญของบริษัท และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยที่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะรายงานความคืบหน้าในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และสื่อสารให้พนักงานในองค์กรทุกคนรับทราบและปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
        นโยบายการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมเป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ ดังนี้
1)    เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น
2)    เพื่อส่งมอบการบริการที่มีคุณภาพแก่ผู้ถือกรมธรรม์
3)    เพื่อช่วยเหลือสังคมด้วยผลิตภัณฑ์ประกันภัย
4)    เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5)    เพื่อให้มีรายงานทางการเงินที่เชื่อถือได้และตรงต่อเวลา
6)    เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
7)    เพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทุกคน

          วิธีการแบบองค์รวม แบบบูรณาการ แบบเชิงรุก และการมุ่งเน้นกระบวนการอย่างแท้จริงตามกรอบและนโยบายบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมช่วยให้บริษัทจัดการความเสี่ยงขององค์กรที่สำคัญทั้งหมด ที่จะทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ บริษัทได้นำกรอบการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมมาเป็นหลักการสำคัญในการรักษาความซื่อสัตย์ของการดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้มั่นใจถึงเสถียรภาพและความมั่นคงของสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัท และที่สำคัญกว่านั้น บริษัทจะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันหากสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง เนื่องจากสามารถคาดการณ์และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
          บริษัทกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบเรื่องการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์ (Solvency Regulations) และกฎหมายอื่นที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล นอกเหนือไปจากนี้ กรอบและนโยบายบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมยังใช้เป็นแนวทางให้ฝ่ายบริหารใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อให้การดำเนินกิจการของบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม
        ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของบริษัท บริษัทจะระบุการยอมรับความเสี่ยงในรายงานและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในรายงาน โดยที่การยอมรับความเสี่ยงและความเสี่ยงที่ยอมรับได้จะต้องได้รับการพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท เกณฑ์ความเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินงานของบริษัทจะสอดคล้องและสนับสนุนการปฏิบัติตามเกณฑ์ความเสี่ยงและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของบริษัท
         บริษัทมีการกำหนดโครงสร้างการทำงาน ให้มีการระบุ ประเมิน ติดตาม และรายงานความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับการจัดการ ติดตามและรายงานผลอย่างเหมาะสม บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดทำทะเบียนข้อมูลความเสี่ยง เพื่อระบุความเสี่ยงทั้งหมด โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและดำเนินการประเมินความเสี่ยงระดับองค์กร เพื่อประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบของความเสี่ยงอย่างน้อยปีละครั้ง และระบุความเสี่ยงหลักของบริษัท นอกเหนือไปจากนี้ บริษัทได้ติดตามตัวชี้วัดความเสี่ยงหลักของบริษัท (KRI) อย่างสม่ำเสมอ และมีการรายงานตัวชี้วัดเป็นรายเดือนเพื่อให้สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ และสามารถกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบได้ทันท่วงที และเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับความเสี่ยงแย่ลง
          เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในกรอบการบริหารความเสี่ยงแบบอค์รวม ไม่ว่าด้วยปัจจัยภายในของบริษัท เช่น กลยุทธ์การดำเนินงาน แผนธุรกิจ นโยบายการรับประกันภัย หรือการปฏิบัติงานภายในของบริษัทเอง หรือจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านตลาด อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงจากคู่สัญญา หรือความเสียหายด้านภัยธรรมชาติ เป็นต้น บริษัทจะได้ระบุความเสี่ยง และมาตรการการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ การปรับปรุงกรอบการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมนั้น จะคำนึงถึงการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์เป็นสำคัญ และกฎหมายอื่นที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้วย
 

นโยบายการแต่งตั้งกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้เสนอรายชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทมีความต่อเนื่องและเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท เพื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติในการแต่งตั้งกรรมการบริษัท โดยในการเสนอรายชื่อดังกล่าวคณะกรรมการบริษัทต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ปราศจากอคติ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการบริหารธุรกิจ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการอิสระ ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ

นโยบายในการให้ผลตอบแทนแก่พนักงาน

บริษัท มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาผลตอบแทนแก่พนักงาน ดังต่อไปนี้
พิจารณาโครงสร้างของผลตอบแทนของบุคลกรที่จะจัดจ้าง และการเก็บรักษาบุคคลากรอันมีคุณค่าไว้ในองค์กร

- โครงสร้างของผลตอบแทนจะต้องสอดคล้องกันระหว่างแผนธุรกิจและการเจริญเติบโตของพนักงาน

- โครงสร้างของผลตอบแทนจะสะท้อนถึงผลลัพท์ในระยะกลางและระยะยาวของพนักงาน รวมถึงความคิดริเริ่มต่าง ๆ ซึ่งได้ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา

- ปัจจัยสำคัญของโครงสร้างของผลตอบแทนคือ การบรรลุเป้าหมายความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อพนักงาน องค์กรและกลุ่มผู้ถือหุ้น

นโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น

วัตถุประสงค์ของการกำหนดกรอบนโยบายการลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การรับประกันภัย การทำสัญญาประกันภัยต่อ การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ฐานะเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนที่คาดหวัง และความพร้อมของระบบและบุคลากรในการรองรับการลงทุนและให้เป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

การพิจารณาการลงทุนของบริษัทเป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุนที่อนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท โดยการนำเสนอโดยคณะกรรมการลงทุน โดยคำนึงถึงความมั่นคงเป็นลำดับแรก โดยลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ประกอบกับการคำนึงถึงสภาพคล่อง เพื่อจัดสรรกระแสเงินสดตามระยะเวลาจ่ายให้สอดคล้องกับหนี้สินภาระผูกพันที่มีต่อผู้ถือกรมธรรม์ และให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมตามความเสี่ยงที่คณะกรรมการลงทุนกำหนด สัดส่วนและประเภทสินทรัพย์ลงทุนเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ ได้จัดให้มีโครงสร้างการควบคุมที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมลงทุน ได้แก่ การอนุมัติรายการลงทุน โดยผู้บริหาร การจัดทำกรอบนโยบายและแผนการลงทุน การควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกรอบนโยบาย การติดตามผลการลงทุนและสถานะของสินทรัพย์ลงทุน โดยคณะกรรมการลงทุน การรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท นอกเหนือจากฝ่ายลงทุน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งมีการแบ่งแยกหน้าที่สำหรับแต่ละกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ สามารถประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากธุรกิจประกันวินาศภัยได้ภายใต้กรอบนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการประกอบธุรกิจอื่นที่ได้รับความเห็นชอบได้แก่ การบริหารจัดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และบริการสำรวจภัย

สัดส่วนของสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้เป็นไปตามกรอบนโยบายลงทุน ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้อันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินที่ฝากเงิน และผู้ออกหลักทรัพย์ต้องไม่ต่ำว่า A-

การลงทุน

บริษัทมีนโยบายในการลงทุน โดยนำเม็ดเงินที่ได้จากการดำเนินธุรกิจไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไฟล์ ดาวน์โหลด

กรอบและนโยบายบริหารความเสี่ยง

ดาวน์โหลด

สินทรัพย์ลงทุน

ดาวน์โหลด

นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม

ดาวน์โหลด